วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ


โรคทางพันธุกรรม
โรค ทางพันธุกรรม หมาย ถึง โรคที่มีความผิดปกติขององค์ประกอบของจีนและโครโมโซม ซึ่งจีนและโครโมโซมนี้เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นจะทำให้
เกิดการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่สู่ ลูกโดยตรง

ชนิดของโรคทางพันธุกรรม โรคทางพันธุกรรม จำแนกได้ ชนิด คือ
1. โรคทางพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติในการแบ่งตัวของโครโมโซม
ขณะกำลังเกิดการปฏิสนธิ หรือขณะที่ไข่และอสุจิผสมกันเป็นตัวอ่อนแล้ว
2. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการเรียงตัวของโครโมโซม
3. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการแยกคู่ของโครโมโซมในระหว่าง
การแบ่งตัว

โรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย ได้แก่
1. โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรค ทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของสารสีแดงใน
เม็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการโลหิตจางเรื้อรัง  อ่านต่อ

สุขภาพชุมชน


ความหมายและความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ
การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีท้างทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องการเป็นคนมีสุขภาพดี การมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์จะเป็นทุนในการประกอบกิจกรรมและภารกิจในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานทางด้านสุขภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นระบบสุขภาพเป็นระบบสร้างนำซ่อม กล่าวคือเดิมสุขภาพเป็นระบบตั้งรับ คือรอให้เจ็บป่วยแล้วจึงนำมาซ่อมหรือนำมารักษา ทำให้ประชาชนคนไทยเจ็บป่วยและตายก่อนวัยอันควร เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก  อ่านต่อ

ใส่ใจความปลอดภัย

ภัยในบ้าน
บ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เพราะที่อยู่อาศัยของคนเรา ปกติแล้วในบ้านน่าจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับคนในบ้าน แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่จะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุที่ไม่คาดคิดภายในบ้าน เช่น

1.การพลัดตกหกล้ม อาจเกิดขึ้นภายในบ้านและอาจทำให้บาดเจ็บ จึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล้านี้ด้วย1.1 ควรล้างห้องน้ำให้สะอาดเสมอไม่ให้ลื่น เพราะอาจทำให้ลื่นล้มในห้องน้ำได้ จนอาจหัวฟาดพื้นได้ จนถึงต้องเข้าโรงพยาบาล
1.2 การยกของขึ้นหรือลงบันได อย่าละสายตาจากทางเดินหรือยกของหนักจนเกินไป
1.3 ถ้าพื้นบ้านปูนหรือกระเบื้องน้ำหก จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงควรเช็ดให้แห้งทันที


2. ภัยจากไฟฟ้า ขณะนี้แทบจะ100%ที่ทุกครั้งหลังใช้ไฟฟ้าใช้แล้ว จึงอาจเกิดเหตุที่อันตรายมาก เพราะเราไม่สามารถมองเห็นไฟฟ้าได้ และวิธีมีการป้องกันดังนี้
2.1 ถ้ามือเปียกหรือยืนในที่เปียก ก็ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
2.2 ควรติดเต้าเสียบให้สูงกว่าไม่น้อยกว่าพื้นประมาณ 1.20 เมตรเพื่อไม่ให้เด็กเล็กเข้าใกล้ได้
2.3 ควรใช้ฟิวส์ขนาดพอเหมาะกับวงจรไฟฟ้า

3. ภัยจากแก๊สหุงต้ม ภัยที่มักพบ ได้แก่แก๊สรั่ว แก๊สระเบิด ควรระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะก่อให้เกิดเหตุที่อันตรายอย่างมากซ้ำแล้วยังทำให้คนรอบข้าง หรือบ้านใกล้เรือนเคียงได้ได้รับความเสียหาย และมีวิธีป้องกันดังนี้
3.1 ควรตั้งถังแก๊สให้ห่างจากผนังพอสมควร และตั้งในที่ระบายอากาศได้ดี
3.2 ตั้งถังแก๊สในพื้นที่ที่แข็ง
3.3อย่านอนถังแก๊ส ตั้งไว้เสมอไม่เคลื่อนย้ายขณะที่ใช้งาน
เด็ดขาด

ภัยจากอัคคีภัย เป็นภัยที่เกิดจากไฟไหม้ และมีวิธีป้องกันดังนี้
4.1 หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ไฟฟ้า
4.2 หมั่นตรวจดูถังแก๊ส
4.3 เก็บเชื้อเพลิงอย่างมิดชิด และห่างจากความร้อน

5.ภัยจากของมีคม ในบ้านจะมีการใช้ของมีคมเสมอ และมีวิธีป้องกันดังนี้
5.1 ขณะที่ใช้ของมีคมควรมีสติระมัดระวังการใช้  อ่านต่อ

ความหมายและประเภทของยา


ยาเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ยาสามารถช่วยในการป้องกันและรักษาโรคได้ ขณะเดียวกัน ยาก็มีอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต ถ้าเราไม่รู้จักวิธีการใช้ที่ถูกต้อง ดังคำกล่าวที่ว่า “ยามีคุณอนันต์ แต่มีโทษมหันต์”

1.1 ความหมายของยา
ตามพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช 2522 ได้ให้ความหมายว่า “ยา” หมายถึง
สารที่ใช้ในการวิเคราะห์ บำบัดรักษา ป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์และสัตว์
รวมทั้งใช้บำรุง และเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจด้วย

1.2 ประเภทของยา
                พระราชบัญญัติยาฉบับที่  3  พุทธศักราช 2522  ได้จำแนกประเภทของยา
เป็น ประเภท  คือ
1)  ยาแผนปัจจุบัน หมายถึง ยาที่ใช้รักษาโรคแผนปัจจุบันทั้งในคนและสัตว์ เช่น
ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ เป็นต้น
2)  ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้รักษาโรคแผนโบราณทั้งในคนและสัตว์
ยาชนิดนี้จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณอย่างถูกต้อง เช่น
ยามหานิลแท่งทอง อ่านต่อ

สารเสพติดให้โทษ


สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติด
วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกประสบอยู่รวมทั้งประเทศไทย ในอดีตจะพบว่าการแพร่ระบาดนั้นจะอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้แรงงานและกลุ่มเยาวชน ชุมชนแออัด ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจแต่ปัจจุบันสารเสพติดกลับแพร่ระบาดเข้าไปสู่เยาวชนในสถานศึกษาแทน ซึ่งหากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว เยาวชนในสังคมทั่วประเทศไทยก็จะตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวงรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษาเป็นปัญหาระดับนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเร่งสร้างความตระหนักให้ทุกคนในสังคมร่วมรับผิดชอบร่วมรณรงค์ ป้องกัน และให้ความรู้อย่างครอบคลุมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัยแก่เยาวชน ซึ่งจะเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนมีความรู้ มีความเข้าใจและตระหนักถึงมหันตภัยของสารเสพติด เกิดเป็นเจตคติที่ดีที่จะดำเนินชีวิตให้ห่างไกลและปลอดภัยจากสารเสพติดทุกชนิดได้ด้วยตนเอง

ความหมายและการจำแนกประเภทของสารเสพติด
จากความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หรือความหมายตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ สามารถสื่อความหมายของสารเสพติดได้ตรงกันว่าหมายถึง สารหรือยา หรือวัตถุชนิดใดๆ ที่เมื่อเสพเข้าร่างกายจะโดยวิธีใดๆก็แล้วแต่ จะเป็นผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพในลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ผู้เสพจะเกิดความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง
2. ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณของสารเสพติดนั้นขึ้นเรื่อยๆ  อ่านต่อ

ปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล


ปัจจัยที่จะสร้างให้คนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.บุคลิกภาพที่ดี หรือนิสัยเฉพาะส่วนตัวที่ดีของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นจุดแรกก็คือ รูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง การแสดงออก และการแต่งกายที่ดูดีมีสง่า มีส่วนดึงดูดความสนใจให้คนอยากเป็นมิตร อยากสนทนาพูดคุยด้วย

2.กิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกต่อสายตาของบุคคลอื่น ทำให้คนที่พบเห็นชอบหรือไม่ชอบก็ได้

3.การพูด การพูดที่ดี มีศิลปะในการพูด ใช้คำพูดที่สุภาพ พูดให้เกียกับคนที่เราพูดด้วย

4.สายตา สาตตาจะบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิด คนที่คิดดีสายตาจะแสดงออกถึงความเป็นมิตร ไม่เสแสร้ง

5.จิตใจดี มองโลกในแง่ดีมีความจริงใจให้แก่เพื่อน การแสดงออกต่อบุคคลอื่นจะเป็นเรื่องดีๆเป็นส่วนใหญ่ และเสมอต้นเสมอปลาย  อ่านต่อ

การช่วยฟื้นคืนชีพ

มาตรฐาน พ 5.1
          ป้องกันและหลีกเหลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด และความรุนแรง

ตัวชี้วัด : สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้
7. แสดงวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกวิธี

แนวคิด
การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุ เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อให้ผู้ประสบอุบัติเหตุอยู่ในภาวะที่ปลอดภัย แล้วนำส่งสถานพยาบาลเพื่อให้การดูแลรักษาต่อไป ดังนั้นการศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจ และฝึกทักษะปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุจึงเป็นทักษะจำเป็นอีกอย่างหนึ่งที่นักเรียนควรได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจและฝึกหัดในทักษะดังกล่าว เพราะจะได้นำมาช่วยเหลือผู้อื่นในโอกาสที่สามารถกระทำได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งได้แก่ การช่วยคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุในกรณีการจมน้ำ การสำลักควันไฟ การถูกไฟฟ้าดูด ภาวะหัวใจวาย และภาวะทางเดินหายใจ อุดตัน เป็นต้น

สาระการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุได้
2. อธิบายหลักการและขั้นตอนปฏิบัติทั่วไปในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบเหตุในสถานการณ์ฉุกเฉินได้
3. อธิบายและเสนอแนะแนวทางในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุจากการจมน้ำ การสำลักควันไฟ การถูกไฟฟ้าดูด
อาการหัวใจวาย และทางเดินหายใจอุดตันได้
4. อธิบายและแสดงขั้นตอนในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุจากการจมน้ำ การสำลักควันไฟ การถูกไฟฟ้าดูด อาการหัวใจวาย และทางเดินหายใจอุดตันได
5. ตระหนักในความสำคัญของหลักการและขั้นตอนที่ถูกต้องในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ